เมนูอาหาร ภาคกลาง
อาหารภาคกลาง เป็นอาหารที่มีความหลากหลายทางด้านรสชาติ และมีการใช้กะทิและเครื่องแกงมากที่สุด โดยการนำมาทำเป็นแกงต่างๆ และยังรับประทานแนมกับอาหารอื่นๆ ด้วย ในหมวดหมู่นี้ทาง เพ็ชรสังข์.คอม จึงได้รวบรวมไว้ซึ่งเมนูอาหารภาคกลางทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสากลที่ประยุกต์ให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน สูตรในการทำอาหารภาคกลาง เมนูอาหารภาคกลาง อาหารของชาวภาคกลาง และมีวิธีการทำอาหารภาคกลางไว้ให้คุณผู้อ่านได้หัดทำกันหลากหลายเมนู ล้วนแล้วแต่เป็นเมนูง่ายๆ ที่สามารถทำได้เอง
อาหารภาคกลาง..ต้มส้มปลากระบอก
ส่วนผสม อาหารภาคกลาง ต้มส้มปลากระบอก
- ปลากระบอก (น้ำหนักตัวละ 100 กรัม) 6 ตัว
- น้ำ 8 ½ ถ้วยตวง
- น้ำปลา 1/3 ถ้วยตวง
- น้ำตาลปี๊บ 120 กรัม
- น้ำมะขามเปียก 5 ช้อนโต๊ะ
- เกลือป่น 1 ช้อนชา
- ขิงอ่อน (ซอยเป็นเส้นบางๆ) 2 0กรัม
- ต้นหอม (หั่นเป็นท่อนยาว 1 นิ้ว) 100 กรัม
- ใบผักชี 1/2 ถ้วยตวง
- ส่วนผสม:เครื่องต้มส้ม อาหารภาคกลาง ต้มส้มปลากระบอก
- หอมแดง (ซองบางๆ ตามขวาง) 1/2 ถ้วยตวง
- รากผักชี (ซองบางๆ ตามขวาง) 2 ช้อนโต๊ะ
- พริกไทยดำป่น 3 ช้อนชา
- กะปิ 2 ช้อนชา
วิธีทำ อาหารภาคกลาง ต้มส้มปลากระบอก
- นำปลากระบอกมาขอดเกร็ด ควักไส้และเหงือกออก คลุกด้วยเกลือล้างเมือกและคาวปลา ล้างน้ำให้สะอาด บั้งตัวปลาทั้ง 2 ด้าน
- โขลกส่วนผสมเครื่องต้มส้มเข้าด้วยกันให้ละเอียด
- ใส่น้ำและส่วนผสมที่โขลกไว้ คนให้เข้ากัน ปิดฝาตั้งไฟให้น้ำแกงเดือด
- ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ น้ำมะขามเปียก และเกลือป่น พอเดือดอีกครั้ง ใส่ปลากระบอกลงในน้ำแกงต้มส้ม อย่าคนปลาจะทำให้ปลาเละและเหม็นคาวตั้งให้เดือด ใส่ขิงเคี่ยวไฟอ่อนประมาณ 30 นาที ใส่ต้นหอม คนพอเข้ากันชิมรส เปรี้ยว หวาน เค็ม
- ตักต้มส้มปลากระบอก ใส่ถ้วยเสิร์ฟร้อนๆ โรยหน้าด้วยใบผักชี
ประโยชน์
คำส้ม นอกจากน้ำมะขามเปียกแล้วก็คือ ขิงอ่อน ขิงช่วยในการขับลม เพื่อให้ความร้อนกับร่างกาย อาหารเมนูนี้จึงมีรสชาติที่ไม่เหมือนเมนูอื่นๆ ความเผ็ดที่ได้จากขิงอ่อนซอยไม่เผ็ดมาก เด็กๆ ก็สามารถรับประทานได้ ขิงก็เป็นสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องของระบบการย่อยอาหาร ใช้ในเรื่องของการขับลม รับประทานเข้าไปก็จะรู้สึกสบายท้อง ถึงแม้ว่ารสชาติจะอร่อยแล้ว ก็มีคุณประโยชน์ว่า “ต้มส้ม” ก็ต้องมีความเปรี้ยวอยู่ ต้มส้มต่างจากต้มยำตรงที่ความเปรี้ยวไม่ได้มาจากมะนาวแต่มาจากน้ำมะขามเปียก เพราะฉะนั้นความเปรี้ยวในต้มส้มจะเป็นความเปรี้ยวที่ค่อนข้างจะอ่อน ละมุนละม่อม เพราะว่าน้ำมะขามเปียกนอกจากจะมีความเปรี้ยวแล้วยังมีความหวานอยู่ในตัวของมันเอง ไม่เหมือนกับมะนาวที่มีความเปรี้ยวอย่างเดียว ปลากระบอกเป็นปลาที่มีเนื้อค่อนข้างเยอะ รับประทานได้ง่าย ให้โปรตีน แล้วยังให้ไขมันในระดับที่ดีปานกลางไม่มากเกินไป ส่วนประกอบอื่นๆ ของต้มส้มเอง ก็มีพริกเล็กน้อย มีน้ำมะขาม ต้มส้มเป็นอาหารที่เด็กทานได้ ผู้ใหญ่ทานดี เพราะว่ามีรสชาติที่กลางๆ เอกลักษณ์อีกอย่างของต้ม
###########################################################
อาหารภาคกลาง..แกงป่าปลาช่อนนา
ส่วนผสม:เครื่องน้ำพริก อาหารภาคกลาง แกงป่าปลาช่อนนา
- พริกขี้หนูแห้ง 25 กรัม
- หัวหอม 25 กรัม
- กระเทียม 25 กรัม
- ข่า ½ ช้อนชา
- ตะไคร้ 15 กรัม
- ผิวมะกรูด ½ ช้อนชา
- รากผักชี ½ ช้อนโต๊ะ
- พริกไทย 1ช้อนชา
- กะปิ ½ ช้อนโต๊ะ
- เกลือ ½ ช้อนชา
- ลูกผักชีคั่วป่น 1 ช้อนโต๊ะ
- ยี่หร่าคั่วป่น 1 ช้อนชา
- ข้าวสารแช่น้ำโขลก 2 ช้อนโต๊ะ
ส่วนผสม:เครื่องปรุง อาหารภาคกลาง แกงป่าปลาช่อนนา
- น้ำ 5 ถ้วยตวง
- ปลาช่อนนา ½ กิโลกรัม
- มะเขือเปราะ(อ่อน) 150 กรัม
- หน่อไม้ 200 กรัม
- ถั่วฝักยาว 150 กรัม
- พริกชี้ฟ้าหั่นยาว 5 เม็ด
- กระชายซอย ½ ถ้วยตวง
- ใบกะเพราเด็ด 1 ถ้วยตวง
- น้ำปลา ¼ ถ้วยตวง
- น้ำมันถั่วเหลือง (ผัดน้ำพริกแกง) ¼ ถ้วยตวง
วิธีทำ อาหารภาคกลาง แกงป่าปลาช่อนนา
- โขลกพริกไทยให้ละเอียดใส่รากผักชี ข่า ผิวมะกรูด ตะไคร้ โขลกละเอียด ใส่พริกแห้ง เกลือป่น โขลกรวมกัน ใส่กระเทียม หัวหอมโขลก กะปิ ลูกผักชีคั่วป่น ยี่หร่าคั่วป่นโขลกจนละเอียด พักไว้
- หั่นเนื้อปลาเป็นชิ้นๆ
- ล้างผักให้สะอาด ผ่าเมะเขือเปราะเป็น 4 ชิ้น แช่น้ำไว้ หั่นหน่อไม้ถั่วฝักยาวเป็นท่อนขนาด 1 นิ้ว พักไว้
- ผัดน้ำพริกในน้ำมันผัดให้หอม ใส่น้ำตั้งไฟให้เดือด ใส่หน่อไม้ มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว พอผักสุกใส่เนื้อปลาช่อน พริกชี้ฟ้า ปรุงรสด้วยน้ำปลาใส่ใบกะเพรา ยกลงพร้อมเสิร์ฟ
ประโยชน์
“แกงป่า เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพค่ะ เพราะมีสมุนไพรหลากหลายชนิด แต่จะแกงป่าให้อร่อยมีเคล็ดเล็กน้อย คือต้องนำพริกแกงไปเคี่ยวกับน้ำจนหอมก่อน และต้องใส่กุ้งแห้งป่นด้วย จะช่วยให้รสของแกงมีรสเค็มกลม ๆ รับประทานได้อร่อย” คุณแม่มะลิกล่าว ทั้งยังย้ำอีกว่าอย่าใส่น้ำตาลในแกงถ้วยนี้ เพราะหากจะแกงให้อร่อย รสหวานควรมาจาก กุ้งแห้งและวัตถุดิบอื่น ๆ และอย่าโลภใส่เครื่องแกงเยอะเกินไปจะทำให้น้ำแกงเหม็น ไม่อร่อยกลมกล่อม
###########################################################
อาหารภาคกลาง..ไข่พะโล้
ส่วนผสม อาหารภาคกลาง ไข่พะโล้
- ไข่ไก่ 7 ฟอง
- น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
- หมูส่วนสะโพก 300 กรัม
- พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา
- รากผักชีหั่นละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
- กระเทียมหั่นหยาบๆ 3 ช้อนโต๊ะ
- อบเชยยาว 2 นิ้ว (คั่ว) 2 ท่อน
- โป๊ยกั๊ก (คั่ว)3 ดอก
- เต้าหู้ขาวแข็ง 3 ½ ก้อน
- น้ำปลา ¼ ถ้วยตวง
- ซีอิ้วขาว ¼ ถ้วยตวง
- ซีอิ้วดำ 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลปี๊บ 175 กรัม
- น้ำเปล่า 5 ถ้วยตวง
วิธีทำ อาหารภาคกลาง ไข่พะโล้
- ล้างเปลือกไข่ให้สะอาด ใส่น้ำให้ท่วม นำไปตั้งไฟคอยคนบ่อยๆต้มจนไข่สุกแข็ง ยกลงรินน้ำทิ้ง แช่น้ำเปล่าให้เย็น แล้วปอกเปลือก พักไว้
- ล้างเนื้อหมูหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมหนาพักไว้
- โขลกพริกไทยให้ละเอียด ใส่รากผักชี กระเทียม โขลกจนละเอียด
- นำน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟ ใส่เครื่องที่โขลกไว้แล้วลงผัดให้หอม ใส่น้ำตาลปี๊บลงไปผัดให้หอม ใส่เนื้อหมู ไข่ น้ำปลา ซีอิ้วขาว ซีอิ้วดำ ผัดให้เข้ากัน
- ตักใส่หม้อ ใส่น้ำเปล่าที่เตรียมไว้ อบเชย โป๊ยกั๊ก เต้าหู้ พอเดือดทั่วแล้วลดไฟลง เคี่ยวไฟอ่อนๆ พอเดือดปุดๆ จนนุ่ม ยกลงพร้อมเสิร์ฟ
ประโยชน์
1. มีสารที่ช่วยต้านมะเร็งได้
ไม่น่าเชื่อว่าเจ้าเครื่องเทศกลิ่นแรงนี้ นอกจากจะช่วยลดระดับไขมัน, คอลเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือดได้แล้ว ทั้งนี้กำมะถันที่ผสมอยู่ในกระเทียม ยังสามารถยับยั้งการเกิดของสารก่อมะเร็งที่ชื่อ ไนโตรซามีน (Nitrosamine) ในร่างกาย ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งได้ นอกจากนั้นซีลีเนียม (Selenium) ที่พบในกระเทียมมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และลดอันตรายจากการเกิดอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดเซลล์มะเร็งที่อวัยวะต่าง ๆ ได้อีกด้วย
2. สามารถป้องกันโรคหัวใจ
สรรพคุณอันน่าทึ่งของกระเทียม นอกจากช่วยต้านโรคมะเร็งได้แล้ว ยังสามารถป้องกันโรคหัวใจที่หลาย ๆ คนต่างหวาดกลัวได้เป็นอย่างดี รวมทั้งช่วยลดความดันโลหิต, การอุดตันของเส้นเลือด, ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน
3. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
ประโยชน์ของกระเทียมไม่ได้มีแค่ยับยั้งและป้องกันโรคต่าง ๆ ได้เท่านั้น กระเทียมยังช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้แล้วพบว่ากระเทียมมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค, เชื้อไวรัส, เชื้อรา รวมทั้งบรรเทาและลดอาการภูมิแพ้ได้เป็นอย่างมาก
ประโยชน์ของข่า
เหง้าแก่ รสเผ็ดปร่า และรสร้อน สรรพคุณขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษไข้ ซับโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้ รักษาโรคกลากเกลื้อน
ประโยชน์ของรากผักชี
ผักชีเป็นผักที่มีกลิ่นหอมจึงสามารถนำมาทำอาหารได้แทบทุกส่วนของต้น ไม่ว่าจะเป็นลำต้น ราก ใบและลูก
อาหารไทยส่วนมากมักโรยด้วยใบผักชี เพื่อแต่งกลิ่นและตกแต่งให้อาหารน่ากิน ลูกผักชีใช้ผสมในเครื่องแกง
ทำให้มีกลิ่นหอม ส่วนรากผักชีมักใช้ร่วมกับกระเทียมแต่งกลิ่นแกงจืดให้หอม อีกทังยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย
โดยมีฤทธิ์ในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อและขับปัสสาวะ
###########################################################
Cr. mahidol.ac.th ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต